WTF Visualization : Ugly Pie Chart (2)

WTF : What do your country's emissions look like ?


          จากบทความนี้ได้นำเสนอข้อมูลของการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG) มากที่สุดในปี 2012 โดยแบ่งเป็นประเทศและ Economics Sector จากข้อมูลพบว่าประเทศ 10 อันดับแรกมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกคิดเป็น 72% ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลก (พิจารณาโดยตัด Land use change and forestry) และมี 6 ประเทศที่มาจากประเทศที่กำลังพัฒนาซึ่งได้แก่ จีน, อินเดีย, อินโดนีเซีย, บราซิล, แม๊กซิโก และอิหร่าน และเมื่อแบ่งตาม Economics Sector จะเห็นว่า Energy Sector มีสัดส่วนการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงถึง 75%         
  



Graphic Elements :

1. สี = ประเทศ
2. Piece of Pie Chart = ประเทศที่ปล่อยมลพิษ, ภาคอุตสาหกรรมที่ปล่อยมลพิษ

Graph Discussion :

1. ถ้าไม่ได้ present ผ่าน website (ดูผ่าน image) จะดูข้อมูลยากมากเพราะไม่ได้แสดงตัวเลข ยิ่งประเทศที่มีสัดส่วนน้อย ยิ่งมองไม่เห็น
2. พื้นที่สัดส่วนของวงกลมไม่สื่อความ ซึ่งโดยปกติแล้วพื้นที่สัดส่วนของวงกลมของ Pie Chart ต้องสื่อความถึงสิ่งที่ต้องการนำเสนอ แต่จากรูปภาพเป็นการซ้อนวงกลมเรื่อย ๆ ซึ่งผิดหลักการทำ Pie Chart
3. ประเทศอื่นๆ (Others) แยะเยอะเกินความจำเป็น ทำให้ดูยากและมองไม่ชัด ดังนั้น ควรรวมเป็นสัดส่วนของประเทศอื่นๆ อย่างเดียว ไม่ควรแยกย่อย
4. ควรแสดงข้อมูลแค่ Top 10 เพราะมีสัดส่วนครอบคลุมถึง 72%

Redesign :

      จากข้อมูลการปล่อยก๊าซ GHG ตามแหล่งที่มาของก๊าซ ได้แก่ แหล่งพลังงาน (Energy) แหล่งอุตสาหกรรม (Industry) แหล่งเกษตรกรรม (Agriculture) และแหล่งของเสีย (Waste) ของประเทศทั่วโลก สามารถนำมา Redesign รูปภาพได้ด้วยการทำ Spatial Visualization โดยการ Map ข้อมูลต่าง ๆ ลงบนแผนที่โลก เพื่อให้เห็นความสัมพันธ์เชิงพื้นที่ในการปล่อยก๊าซ GHG และทำการ Normalization ข้อมูลต่าง ๆ เพื่อให้สามารถเปรียบเทียบการปล่อยก๊าซ GHG ของแต่ละประเทศได้ โดยทำการ Normalization กับจำนวนคนในประเทศ ดังรูปภาพต่อไปนี้



     จากการเปรียบเทียบปริมาณการปล่อยก๊าซ GHG ต่อจำนวนประชากร (1 ล้านคน) ของแต่ละประเทศ พบว่าประเทศที่มีปริมาณการปล่อยก๊าซ GHG ต่อจำนวนประชากรมากที่สุด ได้แก่ ประเทศคูเวต ประเทศบรูไน และประเทศการ์ตา ตามลำดับ และจากกราฟจะเห็นได้ว่าโซนที่มีเฉดสีเข้มคือโซนที่มีปริมาณการปล่อยก๊าซ GHG ต่อจำนวนประชากรมาก ได้แก่ โซนอเมริกาเหนือ โซนทวีปออสเตรเลีย และโซนยุโรปตะวันออก
นอกจากนี้ หากต้องการดูปริมาณการปล่อยก๊าซ GHG ตามอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ ทำได้โดยการ Normalization ข้อมูลปริมาณการปล่อยก๊าซ GHG กับ GDP ของแต่ละประเทศ สามารถแสดงรูปภาพได้ดังต่อไปนี้



     จากการเปรียบเทียบปริมาณการปล่อยก๊าซ GHG ต่อ GDP (10 พันล้านเหรียญสหรัฐ) ของแต่ละประเทศ พบว่าประเทศที่มีปริมาณการปล่อยก๊าซ GHG ต่อ GDP มากที่สุด ได้แก่ สาธารณรัฐแอฟริกากลาง ประเทศแกมเบีย และประเทศเบลิซ ตามลำดับ และจากกราฟจะเห็นได้ว่าประเทศอื่น ๆ บนโลกมีปริมาณการปล่อยก๊าซ GHG ต่อ GDP ในปริมาณที่ไม่แตกต่างกันมากนัก
หากจำแนกตามแหล่งที่มาของปริมาณการปล่อยก๊าซ GHG ของแต่ละประเทศโดยแบ่งออกเป็นร้อยละของแหล่งที่มาของก๊าซ ได้แก่ แหล่งพลังงาน (Energy) แหล่งอุตสาหกรรม (Industry) แหล่งเกษตรกรรม (Agriculture) และแหล่งของเสีย (Waste) ของแต่ละประเทศ แสดงให้เห็นดังรูป



     จากรูปภาพจะเห็นได้ว่าประเทศส่วนใหญ่มีแหล่งที่มาของการปล่อยก๊าซ GHG มาจากแหล่งพลังงาน (Energy) มากที่สุด โดยโซนที่พบการปล่อยมากที่สุด ได้แก่ โซนอเมริกาเหนือ และโซนยุโรป ซึ่งเป็นโซนที่มีสภาพอากาศค่อนข้างเย็นและมีความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจค่อนข้างสูง 
แหล่งที่มาของก๊าซที่มาจากแหล่งการเกษตร (Agriculture) จะพบได้มากบริเวณทวีปแอฟริกา และทวีปอเมริกาใต้ ซึ่งเป็นโซนที่ทำการเกษตรและการเลี้ยงสัตว์มากโซนนึงของโลก และเป็นโซนที่มีความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจค่อนข้างต่ำ
แหล่งที่มาของก๊าซที่มาจากแหล่งอุตสาหกรรม (Industrial) จะพบว่าประเทศคาเมรูนเป็นประเทศที่มีเปอร์เซ็นต์การปล่อยก๊าซจากแหล่งอุตสาหกรรมมาดที่สุดถึง 72.8% เนื่องจากเป็นประเทศที่มีแหล่งอุตสาหกรรมหลัก คือ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมและการกลั่น และผลิตภัณฑ์อลูมินัม เป็นต้น

ส่วนแหล่งที่มาของก๊าซที่มาจากแหล่งของเสีย (Waste) พบว่าประเทศแทบทวีปแอฟริกาและอเมริกาใต้ ได้แก่ ประเทศเบลิซ สาธารณรัฐโกตดิวัวร์ และประเทศเซียร์ราลีโอน ซึ่งเป็นประเทศที่มีการปล่อยก๊าซ GHG ที่มาจากแหล่งของเสียมากที่สุด ตามลำดับ






ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Tourist in Thailand

WTF Visualization : Ugly Pie Chart (3)

WTF Visualization : Ugly Pie Chart (4)